วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาผ้ามัดย้อม บ้านต้นผึ้ง






            นันทนาผ้ามัดย้อมบ้านต้นผึ้ง ผู้ที่ริเริ่มก่อตั้งคือ คุณพ่อของคุณลุงอุทัยหลังจากที่พ่อของคุณลุงเสีย คุณลุงอุทัยจึงได้สืบทอดกิจการต่อมาจนถึงปัจจุบัน 

งานประจำปี


                          “บาติกงามพร้อม มัดย้อมงามตา งานผ้ากองงาม คืองานประจำปีของเทศบาลตำบลแม่แรง จังหวัดลำพูน ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี สถานที่จัดงานเทศกาลจะจัดขึ้น ณ บ้านกองงาม หมู่1 ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนภายในงานจะมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแปรรูปโดยคนในชุมชน ผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติกและผ้ามัดย้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของตำบลแม่แรงการจัดงานบาติกงามพร้อม มัดย้อมงามตา งานผ้ากองงาม ที่บ้านกองงาม เป็นแหล่งผลิตผ้าบาติกและผ้ามัดย้อมที่มีชื่อเสียงของ จ.ลำพูน ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างดีและยังช่วยสร้างรายได้สู่ชุมชนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของนักท่องเที่ยวตลอดจนผู้ที่สนใจ ภายในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงจนไปถึงทั่วประเทศและยังรับความสนใจจากชาวต่างชาติในแถบตะวันออกกลาง
                             ภายในงานจะมีการเปิดร้านจำหน่ายผ้ามัดย้อมและผ้าบาติกของบ้านกองงามและหมู่บ้านใกล้เคียง อีกทั้งยังมีการสาธิตขั้นตอนกระบวนการทำผ้ามัดย้อม บาติก และประวัติของผ้ามัดย้อมและผ้าบาติก ตลอดทั้ง 3 วัน และชมการประกวดกลองหลวง, การแสดงชุด ฮาวานา, การแสดงแฟชั่นโชว์หนูน้อยบาติก, การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งบาติกพร้อมหางเครื่อง, การประกวดธิดาบาติก, การแสดงของศิลปินลูกทุ่ง

อุปกรณ์


 1. ผ้าเย็บสำเร๊จที่ใส่ลูกปัด



  2. สีเคมี (ผง)


  3. ผ้าฝ้าย


  4. หนังยาง เชือก ฟาง หรือ เข็มกับด้ายใช้เพื่อรัดทำลวดลาย
   
  

  5. ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับใส่หรือห่อวัตถุดิบที่ให้สี เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้กระจาย
      ไปติดกับผ้าที่เราจะยอม



  6. ไม้ไผ่ซีกแบนเรียบ ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อเอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้า
       เพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ


                               


 7. เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น



ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อม

วิธีการมัดเพื่อทำลวดลาย


        1. ลายมัดกรมหมุน
            - วางเสื้อกับพื้น จับกลางเสื้อให้ติดทั้งด้านหน้าด้านหลัง ค่อยๆหมุนผ้าไปในทางเดียวกัน
        2. ลายน้ำ
            - มัดเชือกไขว้ตั้งแต่คอเสื้อไล่ลงมาจนสุดชายเสื้อให้แน่น
        3. ลายน้ำไหล
            - นำผ้าวางบนพื้น แล้วจีบผ้าเข้าหากันจนสุดปลายผ้า แร้วเอายางรัดปลายทั้งสองข้างให้แน่น
        4.ลายดอก
        5.ลายก้างปลา
        6.ลายไม้
        7.ลายข้ามหลามตัด

        8.ดอกทานตะวัน        

        9.ลายดอกทานตะวันเฉียง        

       10.ข้าวต้มมัด        

       11.ลายหยอดสีทั่วไป         


VDO เรื่องลวดลายผ้ามัดย้อมจากปราช์ญชุมชน





VDO สาธิต  ลายก้างปลา




VDO สาธิต  ลายน้ำไหล





VDO สาธิต ลายดอกและลายข้าวหลามตัด


VDO สาธิต ลายข้ามต้มมัด


วิธีการย้อมสีผ้ามัดย้อม


1.แยกผ้าที่ทำการมัดลายเรียบร้อยแล้วนำมาคัดแยกลายผ้าออกเป็นส่วนๆ


       



2.เมื่อคัดแยกเสร็จแล้ว นำผ้าไปชุบน้ำร้อนเพื่อให้สีซึมเข้าสู่ผ้าง่ายและเร็วขึ้น




3.นำผ้าที่ชุบน้ำร้อนเสร็จแล้ว นำไปต้มกับสีซึ่งเป็นสีพื้นฐาน เช่น สีแดง สีเขียว สีส้ม



     

  4.เมื่อต้มเสร็จแล้วนำผ้าขึ้นมาจากหม้อต้มแล้วนำไปล้างด้วยน้ำเย็นที่มีอุณหภูมิปกติ


       


5.นำผ้าที่ล้างน้ำเสร็จแล้วนำไปปั่นแห้งด้วยเครื่องซักผ้าประมาณ 15-20 นาที


      



6. เมื่อครบเวลาที่กำหนดจึงนำผ้าออกจากเครื่องแล้วนำไปพักให้ผ้าหายร้อน

        


7.จากนั้นตัดยางรัดลายผ้าออก





                                 8.นำผ้าที่ตัดยางรัดออกเสร็จแล้ว ให้นำผ้าไปตากแดด ประมาณ 1 วัน



9. เมื่อผ้าแห้งแล้วนำไปรีดและแพ็คใส่ถุงเตรียมจัดส่ง

ลายผ้ามัดย้อม


 ลายผ้ามัดย้อม

ลายเปลือกไม้


ลายข้าวหลามตัด(แบบหยอดสี)


ลายดอกทานตะวัน


ลายข้าวหลามตัด(แบบขาว)



ลายข้ามต้มมัด


การประยุกต์ใช้


       นำมาประยุกต์เป็นเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อยืด, กางเกง, กระโปรง, ชุดเดรส, ชุดเด็ก, ผ้าปูโต๊ะ ซึ่งมีให้เลือกได้    หลากหลายรูปแบบ




สามารถสั่งทำ ชุด ต่างๆ ได้ที่ นันทนาผ้ามัดย้อม บ้านต้นผึ้ง ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน


ประโยชน์

ประโยชน์ของการทำผ้ามัดย้อมประกอบด้วย

         
         - เพื่อเป็นการอนุรักษ์วิธีการทำผ้ามัดย้อม
         - สร้างความสามัคคีและสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชน
         -  เสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุนชน
         - เกิดความคิดสร้างสรรค์ในคิดลวดลายของผ้ามัดย้อม ทำให้เกิดลวดลายที่ใหม่ๆขึ้น
         - เป็นที่เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ